วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่มีอิทธพลต่อการตั้งถิ่นฐาน

ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน
          การตั้ง ถิ่นฐาน เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว จึงเกิดการรวมกลุ่มเพื่อตั้งบ้านเรือนและจัดการกับสิ่งรอบตัวให้เหมาะกับการ ดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานนั้น ๆ ดังนี้

          ก. ปัจจัยทางกายภาพ แบ่งได้เป็น
                    ๑) โครงสร้างและระดับความสูงของพื้นที่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเขต ที่ราบมีความเหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานมากกว่าเขตที่สูงหรือภูเขา   เนื่องจากลักษณะพื้นที่กว้างขวางราบเรียบทำให้สามารถเพาะปลูกได้สะดวก  และเขตที่ราบมักจะมีดินอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดมากกว่า สำหรับพื้นที่สูงหรือทุรกันดารซึ่งเข้าถึงลำบากนั้น   มีเหตุจูงใจให้มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้าง  เช่น เพื่อความปลอดภัยจากการรุกราน หรือหากจำเป็นต้องตั้งถิ่นฐานตามภูเขาก็มักจะเลือกอยู่อาศัยในลาดเขาด้านที่ เหมาะสม
                    ๒) อากาศ   อากาศมีผลโดยตรงต่อมนุษย์เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะดินและพืช สภาพของดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือน  ที่อยู่อาศัย และวิถีการดำรงชีวิตจากแผนที่แสดงการกระจายตัวประชากรจะเห็นได้ว่า   ประชาชนจะอยู่กันหนาแน่นในเขตที่มีอากาศเหมาะสม   ส่วนบริเวณที่มีอากาศปรวนแปรจะมีประชาชนเบาบาง หรือปราศจากผู้อยู่อาศัย
          นอกจาก อุณหภูมิแล้ว  ความชื้นของอากาศก็มีความสำคัญ ในแถบศูนย์สูตรที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นจะทำให้เหนื่อยง่าย  มีเหงื่อมาก ไม่สบายตัว ในเขตอากาศเย็นกว่าแถบละติจูดกลาง  อุณหภูมิเย็นพอเหมาะ ทำให้การตั้งถิ่นฐานหนาแน่น
                    ๓) น้ำ ปัจจัยในเรื่องน้ำมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานมาก โดยเฉพาะในสมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานทุกแห่งเป็นการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตร ด้วย น้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากฝนหรือแหล่งน้ำลำธารแต่เพียง อย่างเดียว  ในบางแห่งที่ขาดฝน อาจหาแหล่งน้ำอื่น ๆ มาใช้เพื่อการเกษตร เช่น น้ำบาดาล
          ปัจจุบันมนุษย์สามารถแก้ปัญหาเรื่อง น้ำไปได้มาก  เช่น  การจัดการระบายน้ำของชาวดัตช์   ทำให้สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในที่ลุ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเลได้ สำหรับในประเทศไทยสามารถเพิ่มเนื้อที่เพาะปลูกริมทะเลด้วยการถมทะเล  หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตามภาคต่าง ๆ  สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงพื้นที่ชนบทให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างกว้าง ขวาง

          ข. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
          การที่มนุษย์ครอบครองพื้นที่เพื่อตั้ง ถิ่นฐานทำมาหากิน  ณ  ที่ใดที่หนึ่ง ย่อมมีอิทธิพลต่อสภาพธรรมชาติ  รวมทั้งเกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในถิ่นฐานเดียวกัน และระหว่างถิ่นฐานต่าง ๆ
          วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ออกไปในถิ่นฐานแต่ละแห่ง สามารถจำแนกได้เป็น
                    ๑) ภาษา โดยเฉพาะภาษาพูด ถือว่าเป็นตัวแทนของลักษณะวัฒนธรรม ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป กลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ มักมีภาษาของตนเอง   จึงใช้ภาษาเป็นเครื่องวัดความแตกต่างของวัฒนธรรมได้ ภาษาจึงอาจเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  เช่น  การห้ามใช้ภาษาต่างประเทศ เป็นวิธีที่จะให้ประชาชนหันมาสนใจและรักประเทศของตน  ภูมิใจในชาติของตน รวมทั้งรักเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนยิ่งขึ้น
                    ๒) ศาสนา ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม ความเชื่อถือยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักของศาสนาเป็นหลักที่กำหนดวิถีชีวิต ในท้องถิ่น สถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอาจทำให้ท้องถิ่นหนึ่งมีความสำคัญมาก กว่าท้องถิ่นอื่น  วัด โบสถ์  และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆทางศาสนา จะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน  แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้น ๆศาสนาอาจมีอิทธิพลต่อการเกษตรกรรม การบริโภคอาหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ
                    ๓) การเมือง อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินทำกิน  เช่น  กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  กฎหมายเกี่ยวกับการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  พระราชกำหนดยกเลิกสัมปทานป่าไม้ เป็นต้น

           ค. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
          การประกอบอาชีพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับ อิทธิพลของสภาพแวดล้อมและระดับความเจริญทางเทคโนโลยี  ตัวอย่างของวิวัฒนาการการประกอบอาชีพที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์ ได้แก่
                    ๑) การเพาะปลูก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบถาวรเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักเพาะปลูกด้วย ตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งผลิตผลตามธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว และการตั้งถิ่นฐานแบบถาวนี้ มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมาก  ตัวอย่างเช่น การทำไร่เลื่อนลอย เป็นการเพาะปลูกแบบไม่บำรุงดิน  เมื่อดำเนินไปหลายปีจะทำให้ดินเสื่อมสภาพลง  และต้องย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ เป็นการทำลายป่าและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนการเพาะปลูกแบบไร่นาสวนผสมจะมีการดูแลบำรุงดินที่ดีกว่า   ทำให้สามารถคงความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้
                    ๒) การเลี้ยงสัตว์  แบ่งเป็น  ๓ ประเภทคือ การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ไว้ใช้งาน และไว้ขาย ส่วนใหญ่จะทำในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก  การเลี้ยงสัตว์แบบอยู่เป็นที่จะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเท่ากับการ เลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
                    ๓) อุตสาหกรรม เป็นการนำผลิตผลมาดัดแปลงหรือแปรสภาพให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะซับซ้อน ในเนื้อที่น้อย ต้องใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิงจำนวนมากในการผลิต  มีการใช้แรงงาน ตลอดจนต้องการความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง  ไม่ว่าจะเป็นการนำวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานและผลิตผลจากโรงงานออกสู่ตลาด ทำให้เกิดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้เกิดชุมชนขึ้นและมีการขยายตัวทั้งชุมชนและโรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่งย่อมจะมีผลต่อการเติบโตของเมืองอย่างกว้างขวาง
[กลับ หัวข้อหลัก]

สถานที่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญของวัฒนธรรม : วัด - ศาสนาพุทธ


การทำไร่ เลื่อนลอยบนภูเขา


โรงงาน อุตสาหกรรมใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประกอบอาชีพ


แผนที่ แสดงความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองสงขลา


คนต่าง ชาติต่างภาษาสามารถอยู่ร่วมกันได้

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ความสัมพันธ์ของการตั้งถิ่นฐานกับสภาพแวดล้อม
          เมื่อ มนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มนุษย์จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม  สร้างบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย  ทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ มีกิจกรรมร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อเลือกสถานที่ที่จะตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแล้ว  มนุษย์ก็เริ่มจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำรงชีพ  สิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                    ๑) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่  อากาศ  แม่น้ำ ลำคลอง  ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้นดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้ และสัตว์ป่า เป็นต้น
                    ๒) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น  ได้แก่ บ้านเรือน  โรงเรียน ถนน   รถยนต์   เขื่อนกักเก็บน้ำ  เป็นต้น  รวมตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย
          สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็น ถิ่นฐานมนุษย์   โดยมีขนบธรรมเนียม ประเพณีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น   และข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างผาสุก และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
          มนุษย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ สิ่งแวดล้อม  ดังนั้น การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกกันว่าระบบ นิเวศ   ผลกระทบนั้นเป็นไปได้ทั้งในทางทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น  หรือในทางทำลายให้เลวลง  แต่ถ้าเราไม่มีการวางแผนเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานแล้ว  ย่อมทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง การตั้งถิ่นฐานที่ขาดการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี ก็เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจาก การที่เรามุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศขยายการก่อสร้างปัจจัยพื้น ฐาน เช่น ถนน เขื่อนสนามบิน ท่าเรือ เป็นต้น การที่เราเร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการของถิ่นฐานที่ขยาย ใหญ่ขึ้น เหล่านี้ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จากกระบวนการพัฒนาและการผลิตนี้เอง ทำให้มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ เจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ความสมดุลของธรรมชาติเสียไป
          เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลายและมีของเสีย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งแวดล้อมก็จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและอาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นพิษเป็นภัย ได้ การที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษ จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ อีกทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้งและไม่ระมัดระวัง   จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว  อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเท่านั้น  แต่ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปปัญหาทางสังคมอีก  ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี มีคุณภาพเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในวันข้างหน้า

สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ : ป่าไม้


สิ่งแวดล้อม ที่มนุษย์สร้างขึ้น : สาธารณูปโภคพื้นฐาน

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น